โตชิบาเปิดตัวหุ่นยนต์น้องหมาสำหรับโรงงานนิวเคลียร์ในฟูกุชิมะ

โตชิบาเปิดตัวหุ่นยนต์น้องหมาสำหรับโรงงานนิวเคลียร์ในฟูกุชิมะ

เทคโนโลยี ญี่ปุ่น 23 พฤศจิกายน 2555

Views : 3281

วิศกรโตชิบา "โกโร ยานาเซะ (Goro Yanase)" ให้สัมภาษณ์ว่าหุ่นยนต์น้องหมานี้สามารถขึ้นบันไดและข้ามสิ่งกีดขวางความสูงมากกว่า 50 เซนติเมตรได้


บริษัทผู้สร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อย่างโตชิบา (Toshiba) เปิดตัวหุ่นยนต์ 4 ขาสไตล์สุนัขสำหรับใช้งานในโรงงานที่ฟูกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น มั่นใจหุ่นยนต์น้องหมานี้จะช่วยตรวจสอบระดับรังสีเพื่อให้พนักงานทราบว่าพื้นที่ใดปลอดภัยและสามารถใช้เวลาในพื้นที่นั้นได้นานเท่าใด
       
       โตชิบาระบุว่า หุ่นยนต์น้องหมานี้ยังไม่ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยในงานเปิดตัวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาโตชิบาชี้ว่าตัวหุ่นมีน้ำหนัก 65 กิโลกรัม สูง 1 เมตร ภายในผังกล้องดิจิตอลและเครื่องวัดระดับรังสี ความสามารถหลักคือการเป็นหุ่นยนต์สำรวจที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของโรงงานได้อย่างทั่วถึง สามารถขึ้นลงบันไดสูงชันได้ดี และสามารถควบคุมได้จากระยะไกล

       
       การเคลื่อนไหวที่ยืดหยุ่นเช่นนี้ถูกออกแบบมาให้หุ่นยนต์น้องหมาสามารถเข้าไปตรวจสอบระดับรังสีในพื้นที่ทั่วโรงงาน ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่พนักงานว่าจะไม่ได้รับอันตรายจากปริมาณรังสีที่มากเกินไป ขณะเดียวกัน ตัวหุ่นยังสามารถบรรทุกสิ่งของน้ำหนักมากกว่า 20 กิโลกรัมด้วย
       
       จุดที่น่าสนใจคือ หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถแยกร่างเพื่อส่งหุ่นยนต์ลูกที่ติดกล้องดิจิตอลไว้ภายในออกไปสำรวจพื้นที่แคบสำหรับค้นหาวัตถุต้องสงสัย ทั้งหมดนี้ วิศวกรโตชิบา “โกโร ยานาเซะ (Goro Yanase)” ให้สัมภาษณ์ว่า หุ่นยนต์น้องหมานี้สามารถพัฒนาให้สามารถบรรทุกสิ่งของมากกว่า 80 กิโลกรัม ขณะเดียวกันก็สามารถขึ้นบันไดและข้ามสิ่งกีดขวางความสูงมากกว่า 50 เซนติเมตรได้
       
       รายงานชี้ว่า งานหลักของหุ่นยนต์นี้จะอยู่ที่การถ่ายภาพวิดีโอในโรงงาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหุ่นยนต์ระวังภัยของสหรัฐฯ อย่าง PackBot และหุ่นยนต์ Quince ของญี่ปุ่นเอง เบื้องต้นคาดว่าโตชิบาจะร่วมมือกับบริษัท TEPCO เพื่อเปิดสายการผลิตอย่างจริงจังต่อไป
       
       ความเคลื่อนไหวของโตชิบาเกิดขึ้นหลังจากวิกฤตสึนามิและแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปี 2011 ที่ผ่านมา ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้โรงงานนิวเคลียร์ในฟูกุชิมะเกิดเหตุรังสีรั่วไหล และมีความเสี่ยงทำให้พนักงานได้รับอันตราย เบื้องต้นหุ่นยนต์นี้จะช่วยสร้างความมั่นใจในระดับหนึ่ง

ที่มา: Manager-online

試験 [shi-ken]

ความหมาย : ข้อสอบ